




วัดบางหลวง
|
|
วัดบางหลวง : ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดบางหลวง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๔๓ บ้านบางหลวง หมู่ที่ ๖ ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
|
ประวัติวัดบางหลวง วัดบางหลวงเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยประชาชนชาวบางหลวงกับ พระครูส่วน วัดบางหว้า เป็นผู้ริเริ่มสร้าง เพราะเห็นว่าบางหลวงเป็นหมู่บ้านใหญ่ยังไม่มีวัดแต่ พระครูส่วนไม่ได้อยู่จำพรรษาที่วัดบางหลวงนี้ ให้หลวงพ่อทิมเป็นเจ้าอาวาสปกครองซึ่งไม่ทราบประวัติท่านแน่ชัด ต่อมาหลวงพ่อทิมได้มรณภาพลง ก็มีหลวงพ่อพุก หลวงพ่อชิด หลวงพ่อรอด ปกครองติดต่อกันมาตามลำดับเมื่อถึงพ.ศ. ๒๔๕๐ พระอาจารย์แช่ม สุขสมกิจ ซึ่งเป็นชาวบางหลวงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ปลุกสร้างเสนาสนะมีกุฏีมุงด้วย แฝก คา และจากเป็นที่อยู่อาศัยให้แก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งในครั้งนั้นมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาไม่ต่ำกว่า ๓๐ รูป ในสมัยนั้นเอง พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา)วัดพะเนียงแตก ได้มาเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างพระอุโบสถและผูกพัทธสีมาจนเสร็จเรียบร้อย ในระหว่างนั้นหลวงพ่อทาได้สร้างวัตถุมงคลขึ้น ๑ รุ่น สันนิษฐานว่า ทำขึ้นเพื่อแจกบรรดาญาติโยมผู้มาร่วมทำบุญ ในการสร้างพระอุโบสถและฝังลูกนิมิต เป็นเหรียญหล่อหัวนมกลมขนาดกว้าง ๑.๘ ซ.ม. สูง ๒.๗ ซ.ม. เป็นเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ทองแดงและทองคำ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปสมัยอยุธยาสวย งามมาก ด้านหลังมีอักขระขอมคำว่าอุมะ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด จำนวนเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่ตามคำบอกเล่าท่านได้กล่าวว่าได้ทำพิธีเททองหล่อเหรียญที่วัดบางหลวงจึงนับได้ ว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงพ่อทาและเป็นรุ่นแรกของวัดบางหลวงประชาชนนิยมบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้มากและเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ (ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก) หลวงพ่อทาไปๆมาๆ ระหว่างวัดบางหลวงกับวัดพะเนียงแตก จนต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๖๐ พระอาจารย์แช่มได้ลาสิกขา ต่อมาทายกทายิกาวัดบางหลวง ซึ่งมีขุนอภิบาลปัจฉิมเขตกับนายอากรเปี้ยน ศรีภิญโญ และนางสมบุญเป็นหัวหน้าได้เดินทางไปอาราธนาหลวงพ่อวัน สุวัณโณ วัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มาเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อวันได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ทั้งยังได้สร้างกุฎีที่ทำด้วยไม้สักทรงสมัยโบราณ รวม ๑๑ หลัง และศาลาการเปรียญอีก ๑ หลัง ในช่วงที่หลวงพ่อวันเป็นเจ้าอาวาสท่านได้จาริกไปลพบุรีและนำวัตถุมงคลจาก กรุลพบุรีมามาก แล้วท่านก็ได้บรรจุ ไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรหน้าพระอุโบสถ เป็นพระเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว มีพระอุปคุต พระลีลา สองหน้าหน้าเดียว ด้านหลังมียันต์ อุ พระอุปคุตมี หน้าเดียวและสองหน้า พระหูยานปัจจุบันเปิดกรุแล้ว (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ) หายากพอสมควร ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๖๕ ท่านได้จัดให้มีโรงเรียนประชาบาลขึ้น โดยอาศัยศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่เรียน พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้จัดให้มีสำนักศึกษาพระปริยัติธรรมโดยมีนายเฮง นางฮวย จุฑามณี ร่วมสร้างอาคารเรียนทำด้วยไม้ผสมคอนกรีต(ปัจจุบันยังคงอยู่) กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาประมาณ ๕๐-๖๐ รูป การปกครองในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จนปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสระสี่มุม และวันต่อมา ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ จนท่านอายุได้ ๘๖ ปี ก็มรณภาพด้วยโรคชราในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ นับว่าท่านเป็น เจ้า คณะตำบลบางหลวงและอุปัชฌาย์องค์แรกของ ตำบลบางหลวง ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอาจารย์ผ่อง อาภสฺสโร ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่วัน และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวงก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบมาในขณะที่ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสท่านได้ก่อสร้างกุฏีเพิ่มขึ้นอีก และยังปรับปรุงซ่อมแซมกุฏิเก่าให้มีสภาพคงเดิม ทั้งได้จัดสร้างโรงเรียนประชาบาล ศาลาการเปรียญหลังใหม่ เมรุ สุสาน และพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก และได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสระสี่มุมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นพระครูประทวนกรรมการ ที่พระครูผ่อง อาภสฺสโร ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นเจ้าคณะตำบลบางหลวง ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูประภัศร์ธรรมคุณปีพ.ศ.๒๕๑๖ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ลวงพ่อผ่องท่านเป็นพระตัวอย่างในด้านความมักน้อยสันโดษชอบอยู่ในที่สงัด ไม่ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ถือตัว ตั้งตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงาม จนเป็นที่เคารพนับถือของเหล่าบรรพชิตและคฤหัสถ์ จนปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและ เจ้าคณะตำบลบางหลวง ขออาศัยอยู่เป็นลูกวัดอย่างเดียว ท่านได้มรณภาพลงในวันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมอายุได้ ๙๐ ปี ๙๑ วันพระครูใบฎีกาสง่า ธมฺมโชโต ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน พระครูประภัสร์ธรรมคุณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงปีพศ.๒๕๓๑ ท่านก็มรณภาพลงด้วยอายุ ปี พระอาจารย์จำรัส ธมฺมสุทฺโธ ซึ่งย้ายมาจากวัดราษฎร์สามัคคี ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมาจนถึงปีพ.ศ.๒๕๓๗ ท่านก็มรณภาพลงด้วยโรคชราพระครูปลัดมนตรี สุธีโร ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวง ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นานท่านก็มรณภาพลงด้วยโรค หัวใจล้มเหลว พระสุชาติ ชาตเมโธ ก็ได้รักษาการเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนถึงปีพ.ศ.๒๕๔๐ ก็ลาสิกขาไปประกอบอาชีพการงานด้านการค้าขาย พระสวัสดิ์ ธมฺมสุนฺทโร ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวง ก็ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสสืบต่อมา จนถึงปีพ.ศ.๒๕๔๒ ท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส และไม่นานนักท่านก็ได้ลาสิกขาบท วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ทายกทายิกาวัดบางหลวง นำโดย พ.ต.อ.สมชาย โพธิ์เย็น นายบุญมี หมอนทอง และกำนันอุดม จารุพุทธิศิริพจน์ กำนันตำบลบางหลวงเป็นหัวหน้า ได้พากันไปอาราธนาพระมหาปรีชา ภูริปญฺโญ ปธ.๗ วัดพระงาม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มารักษาการเจ้าอาวาส พระมหาปรีชา ภูริปญฺโญ ปธ.๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหลวงเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ หท่านได้พัฒนาวัดสืบต่อจากเจ้าอาวาสรูปก่อนๆ จนถึงปัจจุบัน |
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ |
เจ้าอาวาสวัดบางหลวง
รูปที่ |
ชื่อ – ฉายา |
ปี พ.ศ |
หมายเหตุ |
1 |
หลวงพ่อทิม |
2420 |
|
2 |
หลวงพ่อพุก |
ไม่ทราบแน่ชัด |
|
3 |
หลวงพ่อชิด |
ไม่ทราบแน่ชัด |
|
4 |
หลวงพ่อรอด |
ไม่ทราบแน่ชัด |
|
5 |
พระอาจารย์แช่ม สุขสมกิจ |
2450-2460 |
ลาสิกขา |
6 |
หลวงพ่อวัน สุวณฺโณ |
2460-2494 |
มาจากวัดห้วยพลู นครชัยศรี |
7 |
พระครูประภัศร์ธรรมคุณ นธ.ตรี |
2495-2525 |
ลาออก |
8 |
พระครูใบฎีกาสง่า ธมฺมโชโต นธ.เอก |
2526-2531 |
มรณภาพ |
9 |
พระอธิการจำรัส ธมฺมสุทฺโธ นธ.เอก |
2532-2537 |
มรณภาพ |
10 |
พระครูปลัดมนตรี(แป้น) สุธีโร นธ.เอก |
2538 |
มรณภาพ |
11 |
พระชาติ ชาตเมโธ นธ.เอก |
2538-2540 (รักษาการ) |
ลาสิกขา |
12 |
พระสวัสดิ์ ธมฺมสุนฺทโร นธ.เอก |
2541-2542 (รักษาการ) |
ลาสิกขา |
13 |
พระมหาปรีชา ภูริปญฺโญ ปธ.๗ |
2543-ปัจจุบัน |
ย้ายมาจากวัดพระงาม |
|
|
|
ที่ |
รายการ |
ค่าบูชา |
รูป |
|
1 |
พระบูชาหลวงพ่อทา ขนาด 5 นิ้ว |
1,000 |
||
2 |
พระบูชาหลวงพ่อวัน ขนาด 5 นิ้ว |
1,000 |
||
3 |
พระบูชาหลวงพ่อผ่อง ขนาด 5 นิ้ว |
1,000 |
||
4 |
เหรียญฉีด หลวงพ่อทา |
เนื้อทองคำ |
12,900 |
|
เนื้อเงิน |
500 |
|||
เนื้อนวะ |
300 |
|||
เนื้อระฆัง |
159 |
|||
5 |
เหรียญฉีดหลวงพ่อทา รูปใบโพธิ์ |
เนื้อทองคำ |
14,900 |
|
เนื้อเงิน |
500 |
|||
เนื้อนวะ |
159 |
|||
เนื้อทองแดง |
59 |
|||
6 |
เหรียญฉีด หลวงพ่อวัน รูปเสมา |
เนื้อทองคำ |
15,000 |
|
เนื้อเงิน |
500 |
|||
เนื้อนวะ |
300 |
|||
7 |
เหรียญหลวงพ่อวัน รูปใบโพธิ์ |
เนื้อทองแดง |
59 |
|
8 |
เหรียญฉีดหลวงพ่อผ่อง รูปใบโพธิ์ |
เนื้อทองคำ |
15,000 |
|
เนื้อเงิน |
500 |
|||
เนื้อนวะ |
300 |
|||
เนื้อระฆัง |
159 |
|||
เนื้อทองแดง |
59 |
|||
9 |
เหรียญฉีดหลวงพ่อผ่อง รูปเสมา |
เนื้อทองคำ |
14,900 |
|
เนื้อเงิน |
500 |
|||
เนื้อนวะ |
300 |
|||
เนื้อระฆัง |
159 |
|||
เนื้อทองแดง |
59 |
|||
|